Share

LTLH ทางออกของกาแฟไทย (9) เราสามารถอนุมานความชื้นในกาแฟได้จากน้ำหนักที่ลดลง

Last updated: 14 Oct 2023
728 Views

LTLH ทางออกของกาแฟไทย (9)

เราสามารถอนุมานความชื้นในกาแฟได้จากน้ำหนักที่ลดลง

หลังจากเก็บข้อมูลมาได้จำนวนหนึ่ง...(ผมว่าปริมาณน่าจะมากพอให้เอาไปทำ thesis จบ ป.โท ได้อีกใบ) เราก็เริ่มหาเวลาเรียบเรียงข้อมูลเหล่านั้นออกมาเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการทำงานภาคสนาม

ผมลองให้น้องใหม่ช่วยทำกราฟเปรียบเทียบบนแกนเวลาเดียวกันระหว่าง เปอร์เซ็นต์ความชื้นในเมล็ด (Moisture Content , wet basis) ที่ลดลง และ ค่าเปอร์เซ็นต์น้ำหนักของกาแฟในตะกร้าที่ลดลง ( Weight loss , wet basis) ได้ดังภาพที่แสดง จะเห็นได้ว่าหากเรารู้ค่าน้ำหนักที่หายไปก็จะสามารถทราบค่าความชื้นในกาแฟได้ในเวลาเดียวกัน

แต่ต้องบอกก่อนว่ากราฟ process แต่ละแบบก็จะมีแคแรกเตอร์ที่แตกต่างกันไป ไม่สามารถใช้แทนกันได้

อย่างกราฟที่เห็นนี้เป็นกราฟของ Yeast Dry Process ที่ผมทดลองทำตั้งแต่ช่วง Prelim ซึ่งคราวนี้ผมเอากราฟที่น้องใหม่จัดทำมาใช้ประโยชน์ในการติดตามผลของกาแฟในตะกร้ารอบ production ล่าสุดนี้ครับ

อย่างไรก็ตาม..กราฟนี้ก็พอจะอนุโลมใช้กับการ drying กาแฟแบบ dry process ทั่วๆไปได้เหมือนกัน โดยคาดว่าจะเบี่ยงเบนกันบ้างเล็กน้อย

การหาค่าน้ำหนักที่สูญเสียไป ณ เวลาที่ตรวจวัดก็ทำได้ไม่ยาก โดยคำนวณจากสมการ

Weight loss (%) = (น้ำหนักเริ่มตาก - น้ำหนักปัจจุบัน) x 100 / น้ำหนักเริ่มตาก

เมื่อรู้ Weight loss เราก็มองดูที่เส้นกราฟสีแดงว่าอยู่ ณ จุดไหน แล้วมองลากตามแกนดิ่ง (แกน Y) ไปหากราฟความชื้นเมล็ด (Moisture content) เส้นสีน้ำเงินว่าเป็นค่าความชื้นที่เท่าไหร่ แค่นั้นเอง

อย่างตอนนี้ weight loss ของกาแฟที่ตากอยู่ส่วนใหญ่ในห้องอยู่ที่ประมาณ 50% ก็แสดงว่าความชื้นในเมล็ดน่าจะอยู่ราวๆ 42-43% ครับ (ซึ่งความชื้นระดับนี้เครื่องวัดความชื้นกาแฟโดยทั่วไปจะยังวัดค่าไม่ได้)

กราฟนี้จะช่วยให้ผู้ที่ดูแลงานตากกาแฟรู้ความชื้น ณ เวลาใดๆได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องมีเครื่องวัดความชื้นเลย คิดว่าน่าจะช่วยประหยัดเงินหรือเวลาไปได้พอสมควร

หากใครยังไม่มีเงินซื้อเครื่องวัดความชื้นก็อาจใช้กราฟนี้ช่วยไปก่อน (ไม่จำเป็นต้องเป็นการตาก LTLHนะครับ)

ส่วนสภาพทางกายภาพของกาแฟก็เป็นไปตามภาพประกอบก็คือ ไม่มีความชื้นแฉะรอบๆผลเชอรี่ ผิวเริ่มหดตัวเกิดเป็นเส้นรอยย่นขึ้นมา นับจากนี้ไปกาแฟจะเริ่มแห้งและหดตัวลงเรื่อยๆครับ

มองๆไปก็สวยดี...ผมเดินวนดูตะกร้าโน้นตะกร้านี้ไม่มีเบื่อเลย

ถ้าไม่ต้องมีงานอื่นๆผมก็คงอยู่ในห้อง LTLH นี่ไปอีกค่อนวัน

ป.ล. รูปเชอรี่นี้ผมถ่ายคละๆกันมาเยอะหน่อยเพื่อให้ได้เห็นภาพรวมทั้งหมด
----
#LTLH #PredaRoastingHouse
#CoffeeDrying #CoffeeProcessing
#เราจะไม่คั่วไปวันๆ


Related Content
มาตรฐานเทคนิคงานตาก LTLH ของปรีดา Ep.2
ก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงมาตรฐานเทคนิคงานตาก LTLH ของปรีดา Ep.1 ในตอน"กลไกการตากแห้ง" ตอนนี้จะมาต่อในตอน"เทคนิคงานตาก"
The basic concept of LTLH Coffee Drying
The Basic Concept of LTLH รวบรวมความรู้พื้นฐานของการทำ LTLH Drying พร้อมภาพประกอบฉบับเข้าใจง่าย เขียนโดย Arkhom Suvannakita | ROASTMASTER, Preda Roasting House
ทำความรู้จักกระบวนการหมักและตากกาแฟแบบ LTLH Drying
Yeast x Dry Process LTLH คือ การนำยีสต์ที่คัดเลือกสายพันธุ์ (Strain) มาใช้หมักผลกาแฟทั้งผลเชอรี่ในถังหมักที่สะอาด ภายใต้อุณภูมิที่ควบคุม
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว and นโยบายคุกกี้
Compare product
0/4
Remove all
Compare
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy