แชร์

โกลฮาคี (2) จากปู่ถึงพ่อ...แล้วก็ผม

อัพเดทล่าสุด: 22 ต.ค. 2023
572 ผู้เข้าชม
โกลฮาคี (2) จากปู่ถึงพ่อ...แล้วก็ผม
โกลฮาคี (2) จากปู่ถึงพ่อ...แล้วก็ผม
 
หากขึ้นดอยจากแม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ผ่านเลยห้วยห้อมไปสักระยะก็จะถึงโกลฮาคีหรือบ้านห้วยห้า
โกลฮาคีเป็นชื่อในภาษากะเหรี่ยง หมายถึง นาขั้นบันได คนที่นี่โดยส่วนใหญ่เขาทำนา ทำไร่ทำสวน และปลูกกาแฟ
วัชรพงษ์ กระท่อมร่มไพร หรือปันปัน ชายหนุ่มสายเลือดปกากญอกลับมาพัฒนาบ้านเกิดอีกครั้งเพื่อสืบต่อสวนกาแฟ
ที่ทำกันมานานนับแต่รุ่นปู่ สวนผลไม้ผสมผสานอยู่ร่วมกับกาแฟมากสายพันธุ์ ความหลากหลายเช่นนี้ไม่ได้สร้างได้ในวันสองวัน
ปันเล่าถึงกาแฟต้นแรกที่โกลฮาคีว่า

"คนแรกที่นำกาแฟต้นแรกมาสู่หมู่บ้านโกลฮาคีเมื่อ 50 ปีที่แล้วคือคุณปู่ซึ่งนำกล้าสายพันธุ์คาทูร์ราจาก อ.แมน
มิชชันนารีผู้มาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ที่หมู่บ้านห้วยห้อม
ปู่ลองปลูกกาแฟไว้ที่บริเวณรั้วบ้าน ต้นเจริญเติบโตงอกงามออกดอกออกผลเต็มต้นแต่ไม่รู้วิธีกินอย่างไร เอาไปทำอะไร ชาวบ้านก็เลยลองเอาใบมาต้มดูคิดว่าน่าจะเหมือนใบชา จากนั้นไม่นานพ่อก็ลองเอาเมล็ดกาแฟจากต้นแรกมาลองเพาะขยายพันธุ์
แล้วปลูกในสวนดูเพราะเห็นว่าเป็นต้นไม้แปลกดี เผื่อสามารถขายได้ พ่อปลูกขยายพันธุ์เต็มสวน ไม่มีตลาดไม่สามารถขายได้ตัดทิ้งทั้งสวน แล้วไปปลูกกะหล่ำแทน แต่จะเหลือไว้แค่ต้นเดียวไว้ดู
หลังจากนั้นปี2521 ในหลวงร.9 ท่านเสด็จมาตำบลห้วยห้อมท่านมาส่งเสริมให้มีการปลูกพืชเศรษฐกิจ หลายอย่างด้วยกัน
หนึ่งในนั้นคือกาแฟ โดย โครงการหลวงจะเป็นผู้ดูแลรับซื้อผลผลิต
โครงการหลวงได้นำพันธุ์กาแฟมาเพิ่มเติมอีกหลายสายพันธุ์
เช่นทิปิก้า คาทุย ในปี2526 พ่อได้กลับมาปลูกกาแฟในสวนโกลฮาคีอีกครั้ง โดยนำสายพันธุ์จากโครงการหลวง
ที่นำมาแจกชาวบ้านประกอบด้วย พันธุ์ เบอร์บอน ทิปิก้า คาติมอร์ และต้นที่ไม่ได้ตัดทิ้งกลับมาเพาะพันธุ์อีกครั้ง ช่วงแรกๆในสวนยังเป็นพื้นที่โล่ง ช่วงหน้าร้อนต้นกาแฟก็จะเหี่ยวเฉา พ่อจึงเริ่มปลูกต้นไม้ใหญ่เช่นขนุน มะนาว ต้นเนียง ส้มโอ อะโวคาโด้ ลิ้นจี่ เพื่อบังร่มเงาให้กับต้นกาแฟ และปล่อยให้ต้นไม้ป่าที่ขึ้นตามธรรมชาติ เช่นมะขามป้อม ตะขบป่า มะเดื่อป่า ได้ทำหน้าที่ดูแลต้นกาแฟเช่นกัน เมื่อโครงการหลวงเข้ามาดูแลการตลาด ชาวบ้านklohaki จึงปลูกกาแฟแพร่หลายในปัจจุบัน ทำให้ชาวบ้านทุกบ้านต้องมีสวนกาแฟมีรายได้เลี้ยงครอบครัว"

ปัจจุบันสวนกาแฟklohaki ปันปัน จะเป็นคนดูแลสานต่อ และได้มีการลงสายพันธุ์กาแฟเพิ่มเติมในสวนคือเกอิชากับ จาวา ฯลฯ
ฟังปันเล่าประวัติศาสตร์ครอบครัวกาแฟของเขาแล้วเรารู้สึกสนุกจริงๆ
เริ่มตั้งแต่รุ่นปู่ที่ยังไม่รู้จักว่ามันคือผลไม้อะไร จนถึงวันนี้ที่มันได้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจของชุมชนไปแล้ว
เรื่องราวของเขายังมีต่อ...รอติดตามตอนหน้านะ
 
Facebook : https://m.me/predaroastinghouse
Line : https://shop.line.me/@preda.coffee
shopee : https://shope.ee/7zXK5jKBxz
Lazada : ค้นหาร้าน กาแฟปรีดา https://www.lazada.co.th/shop/preda-roastinghouse/

บทความที่เกี่ยวข้อง
Rumปัง ไม่ใช่ Rumbarrel
หลายคนอาจจะคุ้นกับชื่อเทคนิค Rumbarrel age ที่เขาเอาสารกาแฟ (green bean)
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy