LTLH ทางออกของกาแฟไทย (4)
การลงมือทำเผยแพร่ได้เร็วกว่าคำพูด
เมื่ออยากพิสูจน์ว่า LTLH จะเป็นทางออกของกาแฟไทยได้จริงไหม? มีแต่ต้องทดลองทำด้วยตัวเองก่อนเท่านั้น
การทดสอบห้องควบคุมความชื้นที่เพิ่งประกอบตู้คอนโทรลและต่อเชื่อมเข้ากับอุปกรณ์หลัก คือเครื่องปรับอากาศ และ Heater
เราจัดกาแฟทั้งแบบ กะลาเปียก เชอร์รี่ และแบบฮันนี่ ลงในตะกร้าพลาสติกตาห่างเพื่อให้ลมสามารถพัดผ่านได้สะดวกทั้งด้านบนและล่าง ตะกร้านี้จะวางซ้อนกันอยู่บนชั้นวางสินค้าที่มีพื้นเป็นตะแกรงเพื่อให้สะดวกแก่การไหลของลมมากที่สุด
เปิดพัดลม 2 ตัวเพื่อให้มีลมไหลเวียนในห้องตลอดเวลา โดยทำใช้เครื่องวัดความเร็วลม (Anemometer) ช่วยทำแผนที่ความเร็วลมที่พัดผ่านตะกร้าแต่ละจุดว่าเหมาะสมหรือไม่อย่างไร?
โดยมีเกณฑ์ความเร็วลมเบื้องต้นว่าควรอยู่ที่ระหว่าง 1-2 m/s
ตลอดเวลาที่กาแฟอยู่บนชั้นตาก...จะมีการชั่งน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงไปทุกชั่วโมงในวันแรก และทุก 2-3 ชั่วโมงในวันถัดๆไป เพื่อตรวจสอบความชื้นที่ลดลงว่าเป็นไปในอัตราที่เร็วหรือช้าเพียงใด ซึ่งผมก็ต้องคอยวิเคราะห์ข้อมูลที่เกิดขึ้นเพื่อประเมินและตัดสินใจปรับเปลี่ยนสภาวะการควบคุมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ประเด็นที่ต้อง concern มี 3 ประเด็นใหญ่
1. ความชื้นของกาแฟลดลงอย่างต่อเนื่องและเหมาะสมไหม?
2. แอร์หรือฮีตเตอร์ มีกำลังมากพอในการทำงาน Drying กาแฟมากหรือน้อยแค่ไหน?
3. เครื่องจักร 2 ตัว ทำงานประสานกันเหมาะสมโดยที่ไม่สิ้นเปลืองไฟฟ้ามากจนเกินไป หรือเครื่องไม่ทำงานหนักเกินจนถึงขั้นที่อาจจะพังได้
ซึ่งทั้ง 3 ข้อ นี้ต้องอาศัยการสังเกตระหว่างการ Drying ตลอดเวลาและคอยปรับจูนไปหลายๆแบบ เพราะนี่เป็นงานใหม่ที่ยังไม่เคยทำกันมาก่อน
การหมั่นคอยตรวจสอบน้ำหนัก อุณหภูมิห้อง และความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ ให้บ่อยครั้งที่สุดจึงเป็นหัวใจของการทำ Preliminary Lab ครั้งนี้
----
เดี๋ยวมาเขียนต่อครับ
#LTLH #PredaRoastingHouse