แชร์

LTLH ทางออกของกาแฟไทย (6) เราต้องเอาน้ำออกจากกาแฟของเราไปกี่กิโล?

อัพเดทล่าสุด: 14 ต.ค. 2023
520 ผู้เข้าชม

LTLH ทางออกของกาแฟไทย (6)

เราต้องเอาน้ำออกจากกาแฟของเราไปกี่กิโล?

การวางแผนตากกาแฟในห้องควบคุมความชื้น LTLH นั้นเริ่มต้นจากต้องรู้ว่าเครื่องลดความชื้นของเราสามารถดึงน้ำออกจากห้องได้ในอัตรากี่ลิตร / ชม. ซึ่งมักจะสัมพันธ์กับกำลังวัตต์ของเครื่องแอร์หรือเครื่องลดความชื้นที่เรามี

วันแรกของการตากจะเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ต้องเร่งทำให้ความชื้นแฉะโดยรอบเมล็ดหมดไปโดยเร็วที่สุด หากเราสามารถลดความชื้นได้ถึง 12-15% ใน 24 ชั่วโมงแรกก็จะดีมาก เพราะความเสี่ยงที่แบคทีเรียจะเจริญจนสร้างความเสียหายโดยรอบเมล็ดก็จะลดลงตามไปด้วย

**ปริมาณน้ำที่ต้องออกใน 24 ชม.แรก จึงกำหนดกำลังของเครื่องลดความชื้น **

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องแอร์ของเรามีกำลังดึงน้ำออกได้เท่าไหร่?

1. หากเราใช้เครื่องลดความชื้น...ก็สามารถดูจากสเปคเครื่องลดความชื้นได้เลย ซึ่งเขาจะบอกเป็นปริมาณน้ำ (ลิตร/วัน)

2. ทดสอบจากการวัดน้ำที่ออกมาจากท่อน้ำแอร์โดยตรง ...เราทำเองได้ง่ายๆโดยตวงน้ำที่เครื่องปรับอากาศกลั่นและทิ้งออกทางท่อน้ำนอกห้องพร้อมกับจับเวลาไปด้วย หากปริมาณน้ำที่ออกมามีอัตรา 1ลิตร/ชั่วโมง ก็แปลว่าแอร์ของเราดึงน้ำออกจากห้องได้ในอัตรา 24 ลิตร/วัน (หรือ 24 ก.ก. ต่อวัน)

สมมติว่าเราวัดได้ในปริมาณที่ผมยกตัวอย่างมานี้ หากคิดให้น้ำ 24 ลิตรหรือ 24 ก.ก.เป็น 12% ของน้ำหนักกาแฟเริ่มต้นทั้งหมด ก็จะคำนวณเป็นปริมาณน้ำหนักกาแฟเริ่มต้นที่เหมาะกับขนาดเครื่องแอร์ได้

น้ำหนักกาแฟเริ่มตาก = น้ำหนักน้ำที่เครื่องดึงออกได้ / 0.12

= 24 / 0.12

= 200 ก.ก.

เมื่อผ่านช่วง 1-2 วันแรกไปแล้ว...อัตราการระเหยของน้ำออกจากกาแฟของเราจะลดลง เครื่องปรับอากาศหรือเครื่องลดความชื้นของเราก็จะมีภาระลดลงโดยอัตโนมัติ ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องกำลังเครื่องอีกต่อไปครับ

----

ผมวัดการใช้ไฟฟ้าของห้อง LTLH ที่มีแอร์ 12,000 BTU หนึ่งตัว , Heater 2000W หนึ่งตัว และพัดลมอีก 2 ตัวทำงานไปด้วยกันตามจังหวะควบคุมของ controller

ห้องของผมใช้ไฟฟ้าในอัตรา 1.5 หน่วย/ ชั่วโมง หรือ 36 หน่วย/ วัน หากคิดเป็นเงินก็ประมาณ 4บ. x 36 = 144 บ./ วัน

มีคนถามว่าเราจะเสียต้นทุนค่าพลังงานไฟฟ้ามากจนเกินไปไหม? ผมขออธิบายอย่างนี้นะครับว่า

1. หากมองห้อง LTLH เป็นห้องหลบภัยสำหรับงานตากกาแฟ...ในสภาพอากาศที่มีความเสียง การที่ยังคงมีผลผลิตอยู่ในมือโดยไม่สูญเสียกาแฟที่ประคบประหงมมานับปี มีความหมายกว่าค่าไฟที่จ่ายไป 1 อาทิตย์มาก

2. เราประหยัดค่าแรงคนงานที่ต้องจ้างมาคอยเฝ้าหน้างานตากมาคอยพลิกกาแฟ หรือขนกาแฟเข้าร่มหรือออกแดดไปได้เลย

3. เราควบคุมคุณภาพการตากได้แม่นยำกว่า

4. สำหรับคนที่คิดจะทำกาแฟแบบ micro lot ...การตากกาแฟได้เอง เป็นการประหยัดเวลา และควบคุมcost ที่ดี
มากกว่าการจ้างคนงานมาคอยตากกาแฟให้เรา

5. เมื่ออากาศดี ท้องฟ้าแจ่มใส เราจะพากาแฟของเราออกจากห้องไปตากข้างนอกก็ได้ครับ...เราบริหารจัดการได้ตามความสะดวก

ยังมีประเด็นทดสอบคุณภาพที่ยังค้างอยู่ครับ ขอผลัดไปก่อน

#LTLH #PredaRoastingHouse #ThaiSpecialtyCoffee#CoffeeDrying


บทความที่เกี่ยวข้อง
มาตรฐานเทคนิคงานตาก LTLH ของปรีดา Ep.2
ก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงมาตรฐานเทคนิคงานตาก LTLH ของปรีดา Ep.1 ในตอน"กลไกการตากแห้ง" ตอนนี้จะมาต่อในตอน"เทคนิคงานตาก"
มาตรฐานเทคนิคงานตาก LTLH ของปรีดา Ep.1
ในห้วงเวลาที่การโปรเสสกาแฟไทยกำลังลำบากจากภาวะฝนผิดฤดู เราจะแก้ไขปัญหากันได้อย่างไร? LTLH คือคำตอบ
The basic concept of LTLH Coffee Drying
The Basic Concept of LTLH รวบรวมความรู้พื้นฐานของการทำ LTLH Drying พร้อมภาพประกอบฉบับเข้าใจง่าย เขียนโดย Arkhom Suvannakita | ROASTMASTER, Preda Roasting House
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy